Wednesday, January 29, 2014

การทิ้งรอก (Free fall)

  1. การทิ้งรอก (Free fall)

    ตามทฤษฎีแล้ว ทำให้รถเครนตีสภาพได้อย่างมากที่ 80%
    เพราะว่า เรื่องสลิง, โครงสร้าง, super structure, ลูกปืน, จานรอก และอื่นๆ
    มีความเสียหายสะสม
    สะดวกตอนนี้ ลำบากวันข้างหน้า
    เครดิต แฟนเพจกลุ่มผู้ประกอบการรถเครน

กฎการทิ้งรอก (free fall) ภาค 2

  1. กฎการทิ้งรอก (free fall) ภาค 2

    กฎการทิ้งรอก (free fall) ภาค 2
    การทิ้งรอกควรทำเฉพาะตอนที่ไม่มีชิ้นงานอยู่
    หรือว่า ถ้าจำเป็น ต้องอย่าเกิด 20% ของความสามารถของสลิง
    เพราะว่าการทิ้งรอกมีแรงกระตุกสูงมาก (Shock load)
    สรุป รถเครน 25 ตัน หากจำเป็น อย่าทิ้งรอกที่มีน้ำหนักเกิน 600 KG
    รถเครน 50 ตัน หากจำเป็น อย่าทิ้งรอกที่มีน้ำหนักเกิด 800KG
    (ซึ่งน้ำหนักก็สูสีกับน้ำหนักรอกเล็กรอกใหญ่แล้ว)
    สุดท้ายนี้ อย่าทิ้งรอกเป็นดีที่สุด
    เครดิต แฟนเพจกลุ่มผู้ประกอบการรถเครน

อย่ายึดติดกับสิ่งพวกนี้

  1. อย่ายึดติดกับสิ่งพวกนี้

    1.ระดับน้ำ : รถเครนที่ทำงานในเมืองไทย ส่วนใหญ่จะเก่า ผลิตมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10-20 ปี ระดับน้ำหลายคันมีตามด หรือสนิม ทำให้เชื่อถือไม่ได้เท่ารถเครนใหม่ๆ
    2.ไฟสัญญาณ 3 สี : ไฟสัญญาณนี้ คือ สัญญาณเตือนปลายเหตุ/ ต้นเหตุ คือ การอ่านกราฟให้เป็น และการตั้งรถอย่างถูกต้องมากกว่า
    3.คอมพิวเตอร์รถเครน : คอมพิวเตอร์รถเครน ก็เป็นปลายเหตุเหมือนกัน/ ในตำรา OSHA and ANSI บอกว่า ให้เชื่อถือการคำนวณหน้างาน มากกว่าเชื่อถือคอมพิวเตอร์รถ 
    4.ใส่หมวก ใส่เข็มขัด ใส่รองเท้าเซฟตี้ ระหว่างขับเครน : ใส่พวกนี้แล้ว (PPE) ไม่ได้ทำให้ทำงานปลอดภัยขึ้น กับเพิ่มความเครียดให้กับ พนักงานขับรถเครน

อันตรายที่มองไม่เห็น …

  1. อันตรายที่มองไม่เห็น …
    1. อย่าทำงานใกล้ปากหลุม ปากบ่อ ริมแม่น้ำ ริมทะเล
    ถ้าจำเป็น ต้องห่างจากปากหลุม 1.5 เท่าของความลึกของหลุม
    ยกตัวอย่างเช่น
    ยกของริมแม่น้ำ เอาไม้ยาวๆไปวัด น้ำลึก 4 เมตร
    ให้ถอยออกมาตั้งขารถเครนไกลอย่างน้อย 6 เมตร จากปากหลุม
    แต่หากจำเป็น อย่ารับงานประเภทนี้
    เพราะว่าดินใต้พื้น สามารถไหลได้เหมือนคลื่นใต้น้ำ
    รถเครนจะคว่ำทันที
    2. หญ้า ทางน้ำผ่าน ท่อระบายน้ำ
    หญ้า มีความชื้นอยู่ รถวิ่งเข้าไปก็จม วางขาก็ทรุด
    ทางน้ำผ่าน ท่อระบายน้ำ อย่าเอาขารถเครนไปวาง
    3. งานที่รถเครนไม่ได้อยู่บนพื้นโลก
    เช่น งานที่รถเครนต้องขึ้นชั้น 2
    หรือว่าทำงานชั้น 1 แต่มีใต้ดินหลายๆชั้น
    (ยังไม่ค่อยเจอ ในประเทศไทย)
    ต้องวางขารถเครนกับแนวคานหลักเท่านั้น
    4. งานพื้นเอียงลาดชัน
    ห้ามตั้งรถเครนในแนวลาดชันเด็ดขาด
    รถเครนจะคว่ำได้ง่ายๆ หรือ พื้นอาจจะแตกเสียหายได้
    เพราะความสามารถรถเครนคำนวณจากพื้นเกือบเสมอระดับน้ำ
    ปล. ช่วงนี้ Admin ติดงานเยอะครับ
    Admin คนอื่นๆ ก็ติดภารกิจหลายอย่าง
    อาจจะตอบช้าหน่อยนะครับ
    เครดิต แฟนเพจกลุ่มผู้ประกอบการรถเครน

สลิงที่หายไป ..

  1. สลิงที่หายไป ..

    ถ้าใช้สลิงยกของ 4 เส้น
    ให้คำนวณน้ำหนักที่ 3 เส้น
    ถ้าใช้สลิงยกของ 5 เส้น
    ให้คำนวณที่ 4 เส้น
    ถ้าใช้สลิงยกของ 6 เส้น
    ให้คำนวณที่ 5 เส้น
    เหตุผล คือ จะมีสลิง 1 เส้น
    ไม่ได้ออกแรง แค่ทำหน้าที่สมดุลการยก
    (Act as a balance.)
    ถามว่า ยกแล้ว ยกได้หรือเปล่า?
    ตอบได้เลย ว่า .. ยกได้สบายมาก
    เพราะว่าสลิงเผื่อค่าเซฟตี้ไว้เยอะมาก
    แต่ถ้ายกเกินโหลดของสลิง
    สลิงอาจจะผิดรูป ทำให้สลิงอายุการใช้งานไม่นาน
    เรื่องการคำนวณสลิง สนุก และน่าสนใจมาก
    ถ้ามีโอกาส Admin จะขอเล่าให้ฟังในโอกาสต่อๆไป
    เจอกันสัปดาห์หน้าครับ ..
    เครดิต แฟนเพจกลุ่มผู้ประกอบการรถเครน

ถ้าเชื่อถือที่วัดระดับน้ำในรถไม่ได้ ให้ทำอย่างไร?


  1. ถ้าเชื่อถือที่วัดระดับน้ำในรถไม่ได้ ให้ทำอย่างไร?
    ระดับน้ำ รถเครนมือสองที่เก่าๆ เชื่อถือไม่ค่อยได้
    ซ่อมให้ดีก็ยาก หาอะไหล่ก็ไม่ได้ หาหน่วยงานมาสอบเทียบก็ไม่ค่อยมี
    จะพกที่วัดไปด้วย ก็ทำหาย เจ้านายก็ไม่ให้
    แล้วจะต้องทำอย่างไร
    ในการแก้ไขสถานการณ์แบบนี้
    คำตอบ คือ ..
    ใช้รถเครนยืดบูมออกให้ยาวที่สุด เท่าที่จะทำได้
    ทิ้งรอกลงมาถึงดิน
    ถ้าพื้นเอียงมากๆ จะสังเกตได้ทันทีว่าผิดปกติ
    รอก และแนวสลิงจะไม่ตรงกับจุดศูนย์กลางของรถ
    รถเครนโชคดีมาก เพราะว่าอุปกรณ์พร้อม
    ในเรื่องการทดสอบแบบนี้
    แต่ในเชิงเทคนิค และประสบการณ์แล้ว
    ยังมีอีกหลายเทคนิคเรื่องวัดระดับน้ำนี้ แต่จะไม่กล่าวถึงไว้
    เพราะว่า ค่อนข้างวัดผลได้ยาก
    ใช้ความรู้สึก และความเคยชินเป็นส่วนใหญ่
    ครั้งหน้า จะอธิบายเกี่ยวกับความสามารถที่ลดลง
    ในองศาที่แตกต่าง กัน 
    ใครมีเทคนิคแนวนี้ เข้ามาแชร์กันได้นะครับ
    เพื่อประโยชน์ของพวกเราทุกคน
    เครดิต แฟนเพจกลุ่มผู้ประกอบการรถเครน

องศาที่แตกต่าง … ทำให้การยกต่างกัน

  1. องศาที่แตกต่าง … ทำให้การยกต่างกัน
    การทำงานบนพื้นเอียง
    - ทำให้เกิดปัญหากับการทำงาน เช่น สวิงไม่ค่อยไป ของแกว่งแรง เป็นต้น
    - สร้างภาระให้กับรถในระยะยาว เช่น เอวรถเครน เป็นต้น
    - สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ ที่ตั้งรถ เช่น พื้นปูนอาจแตก เป็นต้น
    - กราฟการทำงาน ตามมาตรฐาน คิดที่พื้นเอียงอย่างมาก 1 องศา
    - รถบางยี่ห้อ คิดที่ 0.5 องศา
    และมีเชิงเทคนิคเกี่ยวกับพื้นเอียงอีกมาก
    แต่ยังไม่อธิบายในวันนี้ เพราะว่ามันเกินกว่าที่จะนำไปใช้ได้
    เครดิต แฟนเพจกลุ่มผู้ประกอบการรถเครน

การหามคู่ (Tandem lift)

  1. การหามคู่ เป็นประเด็นที่ร้อนแรงมากในบางประเทศ ว่าควรทำ หรือไม่ควรทำ

    อุบัติเหตุเกิดขึ้นเยอะมาก เพราะความไม่รู้ ทำให้หลายคนตัดปัญหาไปว่า ไม่ควรทำ
    อุบัติเหตุจากการหามคู่ สร้างความเสียหายแก่รถเครน ชิ้นงาน และชีวิตคนมากกว่าปกติ
    หลักการทฤษฎีเรื่องการหามคู่ มีรายละเอียดเยอะมาก และมีหลักการคำนวณหลายประการ
    ทั้งแบบหามคู่ปกติ หรือว่าหามคู่โดยใช้ “บาร์” แต่วันนี้จะกล่าวถึงหลักการทั่วไป อย่างง่ายๆ 
    1. การหามคู่ คือ การยกที่มีความเสี่ยงมาก ต้องวางแผนก่อนทำการยก ด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์
    ทีมงานทุกคนต้องรู้แผนโดยละเอียด ต้องมีผู้ควบคุมหลัก ควรควบคุมด้วย “วอ” ที่ส่งสัญญาณถึงทุกคนได้
    2. ตรวจสอบพื้นให้ดี ได้ระดับ และความแข็งแรง
    3. ไม่จำเป็นต้องเป็นรถเครนขนาดเดียวกัน ข้อสำคัญ คือ เครนที่ใหญ่กว่าต้อง ยกก่อน และวางทีหลัง
    และรถเครนที่ใหญ่กว่า ต้องอยู่ใกล้กับ CG ของชิ้นงานมากกว่าเครนที่เล็กกว่า
    4. การคำนวณการยก อย่ายกเกิน 75% ของกราฟรถเครนของแต่ละคัน (หลายคนแหกกฎข้อนี้)
    5. ทำงานให้ช้าที่สุด ทั้งยกขึ้น และวางของลง ยกของให้เรี่ยพื้นที่สุด หลีกเลี่ยงการกระตุกเด็ดขาด
    โดยเฉพาะงานรื้อ งานถอน ของเหลวในชิ้นงาน ของแข็งที่ไหลได้ในชิ้นงาน
    ต้องยกของให้ได้ระดับเดียวกับ ถ้ายกไม่สมดุลจะมีรถเครนคันที่ยกต่ำกว่ารับภาระที่หนักกว่า
    สำคัญที่สุด คนขับรถเครน ต้องรู้ใจกันให้มาก ทำงานคู่กันมาก่อน
    ทีมเวิร์คสำคัญที่สุด ในการหามคู่ครับ
    เครดิต แฟนเพจกลุ่มผู้ประกอบการรถเครน

Tailing cranes. (ระวังหน้างานหลอก อ่านให้ถึงตอนท้าย.)

  1. เรื่องนี้ติดค้างไว้กับผู้ที่เคยสอบถามมาว่า มีหลักการอย่างไร

    ก่อนอื่น Tailing cranes ไม่รู้ว่าแปลเป็นภาษาไทยอย่างไร
    แต่แปลตามความเข้าใจในวงกว้าง ง่ายๆคือ
    การยกแบบยกหัวยกหาง ตั้งของจากแนวนอน ไปสู่แนวตั้ง
    หลักการยกจะมีการยก 2 วิธี แต่ยังไม่ลงรายละเอียด
    หลักๆ คือ รถเครนคันหลัก จะยกหัว
    ส่วนคันที่สอง จะยกหาง แล้วเคลื่อนที่เข้าไป
    ข้อควรระวังในการยก
    1. ยกให้ช้าที่สุด
    2. หลีกเลี่ยงการมัดสลิงแบบหักคอ (Choker)
    เพราะว่าสามารถไถลทำให้เกิดแรงกระตุก
    ให้ใช้หูเกี่ยว หรือบาร์ถ่าง จะปลอดภัยกว่า
    3. ระวังของเหลวที่อยู่ข้างใน
    ถ้าเป็นไปได้เอาออกให้หมดก่อน
    เพื่อลดแรงกระตุก
    4. รถเครนคันหลัก ตั้งรถให้มั่นคง
    คำนวณโหลดชาร์ตแค่ตำแหน่งเดียว
    ขยับเครนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
    แค่ยกขึ้นอย่างเดี่ยว (หรือเบส)
    รถเครนคันหลักอาจต้องเจอกับน้ำหนักที่มากกว่าการคำนวณ
    เพราะของจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่าง
    ชิ้นงานกำลังเปลี่ยนจากนอน ไปเป็นตั้ง
    เพิ่มเติม งานแบบนี้ถ้าเป็นรถเครนขนาดเล็กอาจจะไม่ค่อยเจอกัน
    จากประสบการณ์งานทำนองนี้นั้น
    สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ การตั้ง ง่ายกว่า การนอน
    เพราะตอนตั้งเราทดสอบได้ง่าย แต่ตอนนอนถ้าเรารู้ว่าไม่ไหวแล้ว
    รถเครนมันก็ไปแล้ว .. แก้ไขไม่ทัน
    ยกตัวอย่างเช่น ใช้รถเครน 50 ตันในการตั้งถังแชมเปญ
    ไม่ได้แปลว่ารถเครน 50 ตันจะนอนถังได้
    อาจจะ 70, 80 หรือ 100 ตันด้วยซ้ำ 
    เพราะเหตุการณ์แบบนี้ทำรถเครนคว่ำมาหลายกรณี
    ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ
    จากการที่หน้างานบอกว่าตอนตั้งใช้รถ 50 ตันได้
    รถเครน 50 ตันเคยทำได้ ทำไมต้องใช้ใหญ่กว่า
    เพื่อประหยัดเงินไม่กี่ตัง สุดท้ายรถเครนคว่ำ
    เพราะตอนถังนอนลง แล้วรถเครนเอาไม่อยู่
    ไม่บูมหัก ก็รถคว่ำ คนตาย ชิ้นงานพัง
    ฟ้องร้องกันเสียเวลา เสียเงินทองกันต่อไป
    เครดิต แฟนเพจผู้ประกอบการรถเครน

สาเหตุหลักของอุบัติเหตุรถเครน

  1. สาเหตุหลักของอุบัติเหตุรถเครน จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมเครนแห่ง AUS ไม่เรียงลำดับนะครับ ถ้าอ่านแล้วจำได้ขึ้นใจ ทุกสาเหตุ ป้องกันอุบัติเหตุได้ 98% ที่เหลือขึ้นอยู่กับดวง (Act of god.)

    • การสัมผัสสายไฟฟ้า (ปัญหาอันดับ 1 ของวงการเครนออสเตรเลีย)
    • การยกเกินลิมิตรถ
    • สภาพพื้นไม่พร้อมทำงาน
    • รถเครนทำงานในพื้นที่ไม่ได้ระดับ
    • ไม่ได้กางขา
    • กางขาไม่สุด
    • แผ่นรองขาไม่เหมาะสม
    • เครื่องจักรมีปัญหา
    • สลิงบกพร่อง
    • สภาพอากาศเลวร้าย แต่ยังทำงานต่อ
    • ประกอบเครนไม่ถูกต้อง
    • การใส่เครน และถอดเครน ที่ไม่ถูกวิธี
    • ตะขอชำรุด
    • ไม่ตั้งใจทำงานขณะขับเครน ไม่มีสมาธิ
    • เข้าใจสัญญาณมือเครน หรือสัญญาณเสียงผิดพลาด
    • ยกด้วยความเร็ว สวิงด้วยความเร็ว
    ความไม่ระวัง ความประมาท ไม่ถือว่าเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุรถเครน เพราะไม่มีค่าอะไรในการเก็บข้อมูล 2 คำนี้ จะหลีกเลี่ยงในการใช้ 2 คำนี้ในการเขียนรายงานอุบัติเหต (Incident reports.)
    เครดิต แฟนเพจกลุ่มผู้ประกอบการรถเครน